Attachments:
Download this file (Basic-information-general-condition.PDF)ดาวน์โหลดเอกสาร(คลิ๊ก)[ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี "ตำบลหนองแวง"]133 kB

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1. ด้านกายภาพ
   1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
   ประกาศตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงเมื่อ 14 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแวง หมู่ที่ 10 ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านผือ ประมาณ 23 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดอุดรธานี 54 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมดของตำบล มีพื้นที่จำนวน 28,821 ไร่ หรือ 46.11 ตารางกิโลเมตร                  
   1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
   สภาพพื้นที่ทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา  มีภูเขาเป็นสันกั้นทางทิศตะวันตก สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การทำการเกษตร  มีลำห้วยหลายสายที่ไหลผ่านแต่ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภค บริโภค และทำการเกษตรในฤดูแล้งได้อย่างเพียงพอ  ฤดูฝนจะประสบปัญหาน้ำไหลหลาก  ฤดูแล้งลำห้วยจะแห้งขอด ประสบปัญหาภัยแล้งทั้งน้ำอุปโภคบริโภคอยู่เป็นประจำทุกปี
   1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
   ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู  ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
 ⇒ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม  อากาศร้อนและแห้งแล้ง  แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.9 องศาเซลเซียส  ร้อนจัด  มีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
 ⇒ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม  แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1-2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม  แต่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคูไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ  900  มิลลิเมตร 
 ⇒ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนาน ราว 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู จากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ 15 องศา
   1.4 ลักษณะของดิน
    ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย  ประมาณ  75% ดินลูกรังประมาณ 15 % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ 10 % 
   1.5ลักษณะของแหล่งน้ำ
   มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค - บริโภค  จำนวน  59  แหล่ง  แหล่งน้ำที่เคยเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชนดังนี้

                   ลำห้วย           6        แห่ง     สระน้ำ            23      แห่ง

                   บึง/หนองน้ำ     2        แห่ง     บ่อน้ำตื้น         -         แห่ง

                   ลำคลอง           -        แห่ง     บ่อบาดาล        10      แห่ง

                   อ่างเก็บน้ำ        6        แห่ง     ทำทบกั้นน้ำ      -         แห่ง

                   แม่น้ำ             -         แห่ง     ฝาย               12      แห่ง

                   เหมือง            -         แห่ง     อื่นๆ (ระบุ)       -         แห่ง    

   1.5 ลักษณะของไม้และป่าไม้
   ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงไม่มีพื้นที่สงวนสำหรับปลูกป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็น ไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้ผลัดใบ

2. ด้านการเมือง/การปกครอง       
   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง มีหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ทั้งหมด 10 หมู่บ้าน  สภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ประกอบด้วยประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  1  คน และ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน  17  คน ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี ปัญหาด้านการเมืองคือการแข่งขันทางการเมืองค่อนข้างสูงมีจุดที่น่าสังเกตคือ มีการกลับถิ่น ของประชาชนในช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง แม้ไม่ใช่วันหยุดประจำปี ไม่ว่าจะเป็นการเลือกผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  โดยเฉพาะ การคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงคือ  ขอความร่วมมือ  ผู้นำ  เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ  การรณรงค์  ประชาสัมพันธ์  ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง  เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงก็ได้พยายามแก้ไข  โดยเรื่องจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง  ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง จากผลการประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงจัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย  ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงดำเนินงานตามความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงนอกจากร่วมแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังมีส่วนร่วมในด้านอื่นด้วย เช่น  ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการต่าง ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงจัดขึ้น ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง เป็นต้น
2.1 เขตการปกครอง
   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีขนาดเล็ก ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 14 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 มีเนื้อที่ประมาณ  46.11 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 28,821 ไร่ ระยะทางจากอำเภอบ้านผือ ถึง ตำบลหนองแวงประมาณ  29 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี ถึง ตำบลหนองแวง ประมาณ 54 กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

⇒ อาณาเขตทางทิศเหนือ      ติดต่อกับ ตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ

⇒ อาณาเขตทางทิศใต้         ติดต่อกับ ตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับ

⇒ อาณาเขตทางทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลโนนทอง อำเภอบ้านผือ

⇒ อาณาเขตทางทิศตะวันตก   ติดต่อกับ ตำบลนาด่าน อำเภอสุวรรณคูหาจังหวัดหนองบัวลำภู
   ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน ได้แก่

⇒ หมู่ที่  1  บ้านหนองแวงน้อย

⇒ หมู่ที่  2  บ้านสันติสุข

⇒ หมู่ที่  3  บ้านคำบอนเวียงชัย

⇒ หมู่ที่  4  บ้านแหลมทองพัฒนา

⇒ หมู่ที่  5  บ้านโนนสง่า

⇒ หมู่ที่  6  บ้านเท่อเล่อ

⇒ หมู่ที่  7  บ้านนางาม

⇒ หมู่ที่  8  บ้านหนองแวง

⇒ หมู่ที่  9  บ้านนางาม

⇒ หมู่ที่  10  บ้านหนองแวง

2.2 การเลือกตั้ง
   การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 10 หมู่บ้าน มีเขตเลือกตั้ง จำนวน ๑๐ เขตเลือกตั้งประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เสนอแนะในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ 

3. ประชากร

   3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
   ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ทั้งสิ้น 7,049 คน แยกเป็น ชาย 3,496 คน หญิง 3,553 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย  1๕๒ คน/ตารางกิโลเมตร

รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน
ประจำปี พ.ศ.2561

อำเภอ

ชาย

หญิง

รวม

บ้าน

ตำบลหนองแวง

3,496

3,553

7,049

1,885

หมู่ที่ 1 หนองแวงน้อย

597

609

1,206

301

หมู่ที่ 2 สันติสุข

379

361

740

185

หมู่ที่ 3 คำบอนเวียงชัย

309

329

638

212

หมู่ที่ 4 แหลมทองพัฒนา

373

365

738

203

หมู่ที่ 5 โนนสง่า

320

320

640

184

หมู่ที่ 6 เท่อเล่อ

153

148

301

101

หมู่ที่ 7 นางาม

381

417

798

219

หมู่ที่ 8 หนองแวง

327

344

671

179

หมู่ที่ 9 นางาม

281

283

564

140

หมู่ที่ 10 หนองแวง

376

377

753

161

 จำนวนประชากรแยกรายอายุ ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561

ลักษณะข้อมูล

ชาย

หญิง

รวม

แยกตามเพศ

 3,496

 3,553

 7,049

แยกตามลักษณะสถานะของบุคคล

 

- ผู้ที่มีสัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

 3,493

 3,552

 7,045

-ผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

 1

 1

 2

-ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง (ทะเบียนซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับ ลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน)

 0

 0

 0

-ผู้ที่อยู่ระหว่างการย้าย (ผู้ที่ย้ายออกแต่ยังไม่ได้ย้ายเข้า)

 2

 0

 2

แยกตามช่วงอายุ (ปี) (เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

อายุ

ชาย

หญิง

รวม

อายุ

ชาย

หญิง

รวม

น้อยกว่า 1 ปี

32

35

67

1 ปี

36

48

84

2 ปี

25

33

58

3 ปี

29

34

63

4 ปี

45

38

83

5 ปี

35

35

70

6 ปี

51

52

03

7 ปี

49

47

96

8 ปี

44

60

104

9 ปี

34

44

78

10 ปี

60

51

111

11 ปี

50

41

91

12 ปี

46

42

88

13 ปี

36

50

86

14 ปี

46

51

97

15 ปี

44

51

95

16 ปี

51

47

98

17 ปี

54

55

109

18 ปี

64

38

102

19 ปี

43

43

86

20 ปี

42

48

90

21 ปี

46

48

94

22 ปี

55

65

120

23 ปี

59

57

116

24 ปี

50

52

102

25 ปี

50

66

116

26 ปี

56

46

102

27 ปี

61

62

123

28 ปี

52

55

107

29 ปี

55

50

105

30 ปี

56

50

106

31 ปี

42

37

79

32 ปี

46

38

84

33 ปี

47

45

92

34 ปี

52

48

100

35 ปี

49

34

83

36 ปี

52

69

121

37 ปี

54

53

107

38 ปี

50

63

11

39 ปี

56

58

114

40 ปี

57

50

107

41 ปี

61

65

126

42 ปี

75

67

142

43 ปี

64

66

130

44 ปี

62

56

118

45 ปี

60

41

101

46 ปี

58

61

119

47 ปี

56

47

103

48 ปี

62

72

134

49 ปี

75

69

144

50 ปี

44

65

109

51 ปี

77

55

132

52 ปี

44

77

121

53 ปี

52

45

97

54 ปี

5

62

117

55 ปี

48

35

83

56 ปี

38

40

78

57 ปี

60

44

104

58 ปี

38

38

76

59 ปี

39

41

80

60 ปี

31

33

64

61 ปี

39

46

85

62 ปี

40

31

71

63 ปี

26

26

52

64 ปี

36

36

72

65 ปี

21

26

47

66 ปี

23

29

52

67 ปี

22

28

50

68 ปี

25

24

49

69 ปี

26

35

61

70 ปี

13

15

2

71 ปี

16

17

33

72 ปี

12

14

26

73 ปี

22

9

31

74 ปี

14

13

27

75 ปี

7

19

26

76 ปี

12

14

26

77 ปี

6

14

20

78 ปี

9

12

21

79 ปี

11

11

22

80 ปี

6

7

13

81 ปี

10

9

19

82 ปี

5

6

11

83 ปี

8

3

11

84 ปี

4

2

6

85 ปี

1

5

6

86 ปี

4

6

10

87 ปี

2

4

6

88 ปี

5

8

13

89 ปี

2

3

5

90 ปี

2

8

10

91 ปี

1

1

2

92 ปี

1

0

1

93 ปี

0

2

2

94 ปี

0

0

0

95 ปี

1

0

1

96 ปี

0

0

0

97 ปี

0

1

1

98 ปี

0

0

0

99 ปี

0

0

0

100 ปี

1

0

1

มากกว่า 100 ปี

0

0

0

4. สภาพทางสังคม
   4.1 การศึกษา
   จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ 15-60 ปีเต็ม ร้อยละ 99  อ่าน  เขียนภาษไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้  เด็กอายุ  6-14  ปี  ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9  ปี ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ  99 ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้ การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง  ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนอาหารเสริมนม  อาหารกลางวัน ในหับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน

การศึกษาข้อมูล ณ ปัจจุบัน 
⇒ 
โรงเรียนประถมศึกษา           5        แห่ง
⇒ โรงเรียนมัธยมศึกษา             -         แห่ง
⇒ โรงเรียนอาชีวศึกษา             -         แห่ง
⇒ โรงเรียน / สถาบันชั้นสูง        -         แห่ง
⇒ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก              5        แห่ง
4.2 สาธารณสุข
   จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี  มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง  โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน  โรคเอดส์  โรคไข้เลือดออก  มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี  การแก้ไขปัญหา คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงและหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาล ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งชก็ได้ผลในระดับหนึ่ง  ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี  จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม  การออกกำลังกายยังไม่สม่ำเสมอ  และประชากรส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ  ปัญหาเหล่านี้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับโรงพยาบาล  สาธารณสุข  จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา  (1)  หน่วยงานด้านสาธารณสุข

⇒ โรงพยาบาลประจำตำบล                       1        แห่ง
⇒ อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ   ร้อยละ   100       เปอร์เซ็นต์

                   (2)  สถานการณ์/ปัญหาสุขภาพ (ตำบลหนองแวง)

ลำดับที่

โรค

ที่ต้องเฝ้าระวังทางด้านระบาดวิทยา

ผู้ป่วย (ราย)

ผู้เสียชีวิต (ราย)

1

โรคอุจจาระร่วง

-

-

2

โรคระบบทางเดินอาหาร  อาหารเป็นพิษ

-

-

3

โรคไข้เลือดออก

9

-

4

โรคปอดบวม

-

-

5

โรคตาแดง

-

-

6

โรคคางทูม

-

-

7

โรคสงสัยหูดับ

-

-

8

โรคมือเท้าปาก

-

-

9

โรคอีสุกอีใส

-

-

   4.3 อาชญากรรม
   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น  แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน  และทำลายทรัพย์สินของราชการ  ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่าง ถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินปัญหาคือจากข้อมูลที่สำรวจพบว่าประชาชนไม่มีการป้องกันอุบัติเหตุ อาชญากรรม วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงที่สามารถดำเนินการได้ ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด  คือการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง  รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ  จุดสกัด จุดบริการ  ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก  การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน  ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ  ผลเสียหาย  และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ  ผู้นำ  อปพร.  เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรงและการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 
   4.4 ยาเสพติด
   ปัญหายาเสพติดในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง  พบว่าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ  ประชาชน  หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น  เช่น  การณรงค์  การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส  การฝึกอบรมให้ความรู้  ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่  ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด 

ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ได้ดำเนินโครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อนำผลการสำรวจมาพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้แก่ชุมชน

   4.5 การสังคมสังเคราะห์
   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
1.ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ 
2.รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3.ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4.ตั้งโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน 
5.ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน  ยากไร้  รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง  
6.ตั้งโครงการอบรมอาชีพแก่ ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้

5.ระบบบริการพื้นฐาน
   ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงมีระบบบริการพื้นฐาน  ดังนี้

   5.2 การไฟฟ้า
   การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์  ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด  เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ  ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร  ทั้งนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน  ปัจจุบันในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงมีไฟฟ้าใช้  ดังนี้
(1) จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 1,855  หลังคาเรือน
(2)  ไฟฟ้าสาธารณะ   ครอบคลุมถนนทุกสายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง

5.3 การประปา
   การประปา  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงมีกิจการประปาเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงเอง คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ และกำลังขยายการให้บริการเพื่อครอบคลุมทุกหลังคาเรือน  เพื่อให้  มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี  ปัญหาคือ  มีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อประปาเก่าเกิดการตกตะกอนของน้ำ และน้ำใช้เพื่อการอุปโภคไม่เพียงพอปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำไม่สามารถที่จะจัดหาน้ำดิบสำหรับผลิตประปาให้ชุมชนได้ การแก้ปัญหาคือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที  การพิจารณาโครงการต่างๆ  ที่ไม่สามารถดำเนินการได้นั้น  เช่น  โครงการก่อสร้างโรงสูบจ่ายสารเคมีและเก็บสารเคมีการประปา ฯลฯ  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงก็ได้นำบรรจุในแผนพัฒนาสี่ปีเพื่อที่จะพิจารณาดำเนินการในปีต่อไป เมื่อมีงบประมาณและความจำเป็นก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป ปัจจุบันประชาชนมีประปาใช้  ดังนี้

(1)  จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา    1,755         หลังคาเรือน

(2)  หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา  ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงตำบล  1  แห่ง

(3)  ปริมาณการใช้น้ำประปาเฉลี่ย    500 – 550   ลบ.ม. ต่อวัน

(4)  แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาได้จาก
⇒ แม่น้ำ               ( / )
⇒ สระน้ำหนองใหญ่  ( / ) 
⇒ แหล่งน้ำผิวดิน     ( / ) 
⇒ แหล่งน้ำใต้ดิน     ( - ) 

5.4 โทรศัพท์

(1) จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่   จำนวน     11     แห่ง

(2) ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข                จำนวน       -    แห่ง

(3) หอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ  100  ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง

5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

(1)  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงไม่มีไปรษณีย์ 

(2)  ไม่มีท่ารถขนส่ง 

5.6 เส้นทางคมนาคม
   ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงมีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงที่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ร้อยละ  ๗๐ เป้าหมายคือต้องการให้ได้มากกว่านี้ หรือร้อยละ ๑๐๐  โดยผู้บริหารมีนโยบายที่จะดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทุกสาย  ปัญหาคือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากพื้นที่ยังไม่เป็นที่สาธารณะ  จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อต้องเป็นที่สาธารณะ ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคูมีเส้นทางคมนาคม  ดังนี้

(1) การคมนาคม  การจราจร
   เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงและพื้นที่ใกล้เคียงมีดังนี้
1.1) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2097  อุดรธานี – บ้านผือ
1.2) สะพาน    จำนวน   3    สะพาน
1.3) การจัดการขนส่งมวลชน  ประกอบด้วยรถโดยสารประจำทาง   สายอำเภอบ้านผือ – อำเภอสุวรรณคูหา
1.4) ถนน ถนนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง   จำนวน   110  สาย ได้แก่

  • ถนนคอนกรีต จำนวน   83   สาย   ระยะทาง  16,952 เมตร
  • ลาดยาง จำนวน      3   สาย   ระยะทาง   2,671 เมตร
  • ลูกรัง จำนวน    53   สาย   ระยะทาง  25,209 เมตร

6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
   ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ร้อยละ 8๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่  ข้าว  มันสำปะหลัง  ยางพารา อ้อย  โดยประมาณดังนี้
⇒ อาชีพเกษตรกรรม      ร้อยละ     80 ของจำนวนประชากรทั้งหมด        
⇒ อาชีพเลี้ยงสัตว์         ร้อยละ    10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด     
⇒ อาชีพรับจ้าง            ร้อยละ      8  ของจำนวนประชากรทั้งหมด     
⇒ อาชีพค้าขาย           ร้อยละ      2  ของจำนวนประชากรทั้งหมด 
6.2 การประมง (ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงไม่มีการประมง)
6.3 การปศุศัตว์
   เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น  เลี้ยงไก่  เป็ด  โค  สุกร  กระบือ  เป็นต้น
6.4 การบริการ
⇒ รีสอร์ท                     1       แห่ง
⇒ ร้านอาหาร                 10      แห่ง
⇒ โรงภาพยนตร์              -        แห่ง
⇒ สถานีขนส่ง                -        แห่ง (ท่ารถ 1  แห่ง)
⇒ ร้านเกมส์                   -     แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
   ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงไม่มีแหล่งท่องเที่ยว  แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน  เช่น การจัดงานประเพณีต่าง ๆ  และส่งเสริมให้กลุ่มอาชีพทอผ้าให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวในตำบล
6.6 อุตสาหกรรม จำนวนกิจการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (โรงสีขนาดเล็ก)  จำนวน  8  แห่ง
(มีคนงานต่ำกว่า  ๑๐  คน  หรือมีทรัพย์สินถาวรที่เกิน  ๑  ล้านบาท)
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
   การพาณิชย์
⇒ ธนาคาร                  -        แห่ง     สถานีบริการน้ำมัน    -   แห่ง
⇒ บริษัท                    -        แห่ง     ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า   -   แห่ง
⇒ ห้างหุ้นส่วนจำกัด        -       แห่ง     ตลาดสด   ๑   แห่ง
⇒ ร้านค้าต่างๆ             20      แห่ง     โรงฆ่าสัตว์   -   แห่ง
⇒ ซุปเปอร์มาเก็ต             -         แห่ง
กลุ่มอาชีพ
อำนวยกลุ่มทุกประเภท   22  กลุ่มแยกประเภทกลุ่ม
⇒ กลุ่มอาชีพ   17  กลุ่ม
⇒ กลุ่มออมทรัพย์  1  กลุ่ม
⇒ กลุ่มออมวันละบาท  1  กลุ่ม
⇒ กลุ่มอื่นๆ  3  กลุ่ม
1.กลุ่มชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองแวง
2.กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนตำบลหนองแวง
3.กลุ่มสตรีตำบลหนองแวง
6.8 แรงงาน
   จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชากรที่มีอายุ  15-60 ปี อยู่ในกำลังแรงงานร้อยละ  95  เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ  73-99  ซึ่งสูงกว่ามาก  แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด  โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร  ประชากรอายุระหว่าง  25-60 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่  รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ  ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ เช่น ทำงานในเขตเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม  บริษัท  ห้างร้านใหญ่ๆ  เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย  ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

7.เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากรทั้งหมด

ครัวเรือนทั้งหมด

พื้นที่ทั้งหมด (ไร่)

หมายเหตุ

ชาย(คน)

หญิง(คน)

1

หนองแวงน้อย

597

609

301

2,280

 

2

สันติสุข

379

361

185

2,839

 

3

คำบอนเวียงชัย

309

329

212

3,800

 

4

แหลมทองพัฒนา

373

365

203

2,100

 

5

โนนสง่า

320

320

184

2,536

 

6

เท่อเล่อ

153

148

101

1,525

 

7

นางาม

381

417

219

3,323

 

8

หนองแวง

327

344

179

2,138

 

9

นางาม

281

283

140

3,266

 

10

หนองแวง

376

377

161

1,335

 
 

รวม

3,496

3,553

1,885

25,142

 

7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร

          หมู่ที่  1 - 10

มีพื้นที่ทั้งหมด  25,142  (ไร่) ทำการเกษตร  ดังนี้

ประเภทของการทำการเกษตร

จำนวน

ผลผลิตเฉลี่ย

(กก./ไร่)

ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย

(บาท/ไร่)

ราคาขายโดยเฉลี่ย

(บาท/ไร่)

2.1) ทำนา

¨ ในเขตชลประทาน

           ครัวเรือน

                   ไร่

           กก./ไร่

             บาท/ไร่

            บาท/ไร่

þ นอกเขตชลประทาน

 1,312 ครัวเรือน

  12,326      ไร่

   1,000    กก./ไร่

    8,000     บาท/ไร่

   12,000     บาท/ไร่

2.2) ทำสวน

สวน   ไม้ผล              .

     -     ครัวเรือน

    -           ไร่

           กก./ไร่

             บาท/ไร่

            บาท/ไร่

สวน   ไม้ยืนต้น              .

     -     ครัวเรือน

    -           ไร่

           กก./ไร่

             บาท/ไร่

             บาท/ไร่

สวน   ยางพารา              .

   999  ครัวเรือน

   4,800       ไร่

   50      กก./ไร่

    2,500     บาท/ไร่

    3,600     บาท/ไร่

สวน   ปาล์มน้ำมัน.

     -     ครัวเรือน

    -         ไร่

           กก./ไร่

             บาท/ไร่

            บาท/ไร่

2.3) ทำไร่

þ  ไร่อ้อย

   728  ครัวเรือน

   6,680       ไร่

  4,000  กก./ไร่

   2,900    บาท/ไร่

   4,500     บาท/ไร่

¨  ไร่ข้าวโพด

           ครัวเรือน

                   ไร่

           กก./ไร่

             บาท/ไร่

            บาท/ไร่

þ ไร่มันสำปะหลัง

    332 ครัวเรือน

    2,983     ไร่

   3,000  กก./ไร่

   5,000    บาท/ไร่

    8,000     บาท/ไร่

þ  อื่นๆ โปรดระบุ  

      พื้นที่ไร่ทั้งหมด      .

     -     ครัวเรือน

    600         ไร่

           กก./ไร่

             บาท/ไร่

            บาท/ไร่

2.4) อื่นๆ

¨  อื่นๆ โปรดระบุ

                     .

           ครัวเรือน

                   ไร่

           กก./ไร่

             บาท/ไร่

            บาท/ไร่

 7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

          หมู่ที่  1 - 10 

มีพื้นที่ทั้งหมด  25,142  (ไร่)  มีแหล่งน้ำทางการเกษตร  ดังนี้

แหล่งน้ำ

ทางการเกษตร

ความเพียงพอของปริมาณน้ำฝนที่ใช้ในการทำการเกษตร

ปริมาณน้ำฝนที่ตกโดยเฉลี่ยในปีที่ผ่านมา

(มิลลิเมตร) กรณีที่ทราบโปรดระบุ

เพียงพอ

ไม่เพียงพอ

3.1) ปริมาณน้ำฝน

ü

 

-

แหล่งน้ำ

ทางการเกษตร

ลำดับ

ความสำคัญ

ความเพียงพอของน้ำเพื่อการเกษตร

ตลอดทั้งปี

การเข้าถึงแหล่งน้ำการเกษตร

เพียงพอ

ไม่เพียงพอ

ทั่วถึง

ไม่ทั่วถึง

ร้อยละของ

ครัวเรือนที่เข้าถึงฯ

3.2) แหล่งน้ำธรรมชาติ

¨ 1. แม่น้ำ

           

þ 2. ห้วย/ลำธาร

6

ü

   

ü

50 %

¨ 3. คลอง

           

þ 4. หนองน้ำ/บึง

2

ü

   

ü

50 %

¨ 5. น้ำตก

           

¨ 6. อื่นๆ(โปรดระบุ)

6.1)                .

6.2)                .

6.3)                .

           

3.3) แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น

¨ 1. แก้มลิง

           

þ 2. อ่างเก็บน้ำ

6

 

ü

 

ü

         70 %

þ 3. ฝาย

12

ü

   

ü

30 %

þ 4. สระ

23

 

ü

 

ü

30 %

¨ 5. คลองชลประทาน

           

¨ 6. อื่นๆ(โปรดระบุ)

6.1)                .

6.2)                .

6.3)                .

           
               

7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)

          หมู่ที่  1 - 10

  มีพื้นที่ทั้งหมด 25,142 (ไร่) มีแหล่งน้ำน้ำกิน น้ำใช้(หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค) ดังนี้

แหล่งน้ำ

ไม่มี

มี

ทั่วถึงหรือไม่

เพียงพอ

ไม่เพียงพอ

ทั่วถึง

ไม่ทั่วถึง

ร้อยละของครัวเรือนที่เข้าถึง

4.1 บ่อบาดาลสาธารณะ

 

ü

 

ü

 

50 %

4.2 บ่อน้ำตื้นสาธารณะ

           

4.3 ประปาหมู่บ้าน (ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

   

ü

 

ü

50 %

4.4 ระบบประปา (การประปาส่วนภูมิภาค)

 

ü

 

ü

 

90 %

4.5 แหล่งน้ำธรรมชาติ

 

ü

   

ü

30 %

4.6 อื่นๆ (โปรดระบุ)

4.6.1)                               .

4.6.2)                               .

4.6.3)                               .

           

 8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา

⇒ ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ   100
    วัด 11 แห่ง                
⇒ ผู้ที่นับถือศาสนาคริตส์  ร้อยละ  -
    สำนักคริตส์    -   แห่ง
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
⇒ ประเพณีวันสงกรานต์   ประมาณเดือน   เมษายน
⇒ ประเพณีบุญบั้งไฟ      ประมาณเดือน   พฤษภาคม
8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
   ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่  วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน  วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม  วิธีการทอเสื่อจากต้นกก  และวิธีการจับปลาธรรมชาติ ภาษาถิ่น  ส่วนมากร้อยละ 10๐ % พูดภาษาถิ่น 
8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
   ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่วยบ้าง ได้แก่  เสื่อที่ทอจากต้นกก  ผ้าที่ทอจากผ้าฝ่ายและผ้าไหม  เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่    

9. ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ  ที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค  เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำบรรจุขวดขายซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด สำหรับน้ำใต้ดินมีปริมาณน้อย ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียงได้ และบางแห่งเค็ม ไม่สามารถใช้ดื่มและอุปโภคได้
9.2 ป่าไม้  ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงไม่มีพื้นที่สงวนป่าไม้
9.3 ภูเขา  ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงมีภูเขาเป็นสันกั้นทางทิศตะวันตก
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
   ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย  ร้านค้า  สถานประกอบการ  ตามลำดับ  และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ก็ได้แก่  ดิน  น้ำ  ต้นไม้  อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ในการอุปโภค-บริโภคได้ได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น  และน้ำฝนน้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ  และไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน  เอกชน